.............ติดต่อเรา.... ............................ ไทย .... Eng

 

*ทุกภาพ ...สามารถคลิ๊กที่ภาพของสินค้าที่ต้องการชมมุมมองต่างๆ...เพื่อขยายใหญ่ขึ้น

ชุดจำลองเกราะซามูไร + ดาบ + ครอบพลาสติกกันฝุ่น ทุกแบบ ราคา 1450 บาท (ไม่รวมพัด ไม่รวมค่าส่ง)
คลิ๊กที่นี่เพื่อชมคลิปการประกอบชุดจำลองเกราะซามูไร

ความสูงชุดเกราะ(รวมหมวก) 16 cm.*** เป็นความสูงโดยประมาณ ความสูงชุดเกราะแต่ละแบบ มีความแตกต่างกันตามรูปทรงและส่วนประกอบ
ความยาวดาบ(ไม่สวมฝัก) 15 cm. ความสูงรวม(กล่องพลาสติกครอบกันฝุ่น) 21.5 cm. ความกว้างรวม(กล่องครอบพลาสติกกันฝุ่น) 18 cm.

 

01 Date Masamune ................... หากต้องการชมพัดตราประจำตระกูล Date Masamune คลิ๊กเลย

伊達 政宗 September 5, 1567 – June 27, 1636 ดะเตะ มาสะะมุเนะ หรือมังกรตาเดียว ตราประจำตระกูลรูป ต้นไผ่และนกกระจอก ตระกูล ดะเตะ มาสะมุเนะสามารถสร้างผลงานการรบได้ตั้งแต่อายุ 16 ในการรบ กับตระกูลโซมะ ทำให้ขยายอิทธิพลของตระกุลดะเตะไปไม่น้อย จนเมื่อมาสะมุเนะอายุ 18 ปี บิดาของเขาก็ตัดสินใจมอบ อำนาจดูแลตระกูลดะเตะทั้งหมด จุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ของมาสะมุเนะ เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมาสะมุเนะยอมเปลี่ยนฝ่ายไปเข้ากับฮิเดะโยชิ ในสงครามโอดาวาระ เมื่อฮิเดะโยชิ ถึงแก่กรรม เขาก็ร่วมกับฝ่ายตะวันออกของอิเอะยาสุ มาสะมุเนะ มีความเก่งกาจทั้งทางด้านการรบ การฑูต และภาษา ครั้งหนึ่ง เขาเคยเขียนจดมายเป็นภาษาลาติน ถึงสมเด็จพระสันตะปาปา และยังเป็นผู้คิดสร้าง เรือญี่ปุ่น ดะเตะมารุ นับเรือลำแรกอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่น ที่เดินทางรอบโลกข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค แอตแลนติค และอินเดีย ถือได้ว่าสร้างความภาคภูมิใจไว้ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ซึ่งนับว่าเป็นความใฝ่ฝันเดียวกับโนบุนางะ ที่ไม่มีโอกาสทำได้ในยุคก่อน แต่มาสำเร็จในยุคของมาสะมุเนะ ดะเตะ มาสะะมุเนะ ตาบอด เนื่องจากโรคฝีดาษ ตั้งแต่เด็ก เขาจึงมีตาใช้งานเพียงข้างเดียว

02 Naoe Kanetsugu ................... หากต้องการชมพัดตราประจำตระกูล Naoe Kanetsugu คลิ๊กเลย


直江 兼続 1559 – January 23, 1620 นาโอเอะ คาเน็ทสึงุ เกิดที่ปราสาทสะคะโตะ เป็นบุตรคนโตของ ฮิงุจิ โซะเอะม่ง คาเนะโตโยะ เริ่มจากการรับใช้ในตระกูล อุเอะสุงิ หน้าที่หลักคือ โคะโชะ เปรียบเหมือนคนเดินเอกสาร จนในปี 1578 อุเอะสุงิ เคงชิง ถึงแก่กรรม บุตรบุญธรรมทั้งสองชิงอำนาจ คาเน็ทสึงุ เลือกเข้าฝ่ายคาเคะคัตสึผู้เป็นฝ่ายชนะ
ประกอบกับ คาเน็ทสึงุเป็นผู้ไฝ่รู้เรื่องกลยุทธ์ การปกครอง ศึกษาการขยายอำนาจของ โนบุนางะ อยู่แล้วเป็นทุน อีกทั้งสนิทสนมกับคาเคะคัตสึ มาตั้งแต่เด็ก เพราะวัยใกล้เคียงกัน
ในปี 1581 คาเน็ทสึงุ จึงได้รับตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษา ของอุเอะสุงิ คาเคะคัตสึ ด้วยวัยเพียง 22ปี คาเน็ทสึงุ ถือว่ามีเกียรติภูมิ สติปัญญา
อีกทั้งมีความสามารถในการสร้างปฎิสัมพันธ์ต่อบุคคล มีความอ่อนโยนต่อทหารที่อยู่ใต้บังคับบัญชา มีความยืดหยุ่น และมีความสามารถ ประเมินสถานการณ์เป็นอย่างดี จึงได้รับฉายาเป็นที่รู้จักของชาวญี่ปุ่นในนาม เทงจิจิน หมายถึง สวรรค์ โลก และมนุษย์ คาเน็ทสึงุใช้คำว่า"รัก" บนศีรษะ เป็นผู้ที่ยึดถือหลักความรัก ความเมตตาเพื่อผ่านอุปสรรคนานานัปการเพื่อประโยชน์สุข แก่ส่วนรวมแม้ต้องเสียสละส่วนตน วีรกรรมต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบ้านเมือง การศึกษา การสงครามเพื่อให้บ้านเมืองและประชาชนอยู่รอด "แม้ชีพวายแต่ชื่อนั้นคงเป็นอมตะ"

 

03 Uesugi Kenshin ................... หากต้องการชมพัดตราประจำตระกูล Uesugi Kenshin คลิ๊กเลย

上杉 謙信 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1530 - 19 เมษายน ค.ศ. 1578 อุเอะสุงิ เค็งชิง เดิมชื่อว่า นางะโอะ คาเงะโทระ เป็นบุตรชายของนางะโอะ ทะเมะคาเงะ ผู้เป็นไดเมียวผู้ปกครองแคว้นเอะฉิโงะ ในปี 1536 พ่อของคาเงะโทระ พ่ายแพ้และเสียชีวิตในการปราบกบฏอิคโคะอิคคิ จึงเกิดการชิงความเป็นผู้นำในครอบครัวของพี่ชายสองคน
ทำให้คาเงะโทระ ต้องหลบไปเล่าเรียนอยู่ที่วัด ในปี 1544 คาเงะโทระ ชิงอำนาจคืนจากพี่ชาย ได้สำเร็จ ปี 1545 อุเอะสุงิ โนริมาสะ ผู้ปกครองแคว้นโคสุเกะและเป็นตัวแทนโชกุนแห่งตะวันออก(คันโตคังเร) ถูกตระกูลโฮโจ รุกรานจนต้องหนี มาขอความช่วยเหลือจากคาเงะโทระ
ช่วงปี 1554 ถึง 1561 คาเงะโทระ พัวพันในสงครามกับทาเคะดะ ชิงเง็น เป็นสงครามที่ยาวนาน ต่างฝ่ายต่างสูญเสียมากมาย ในปี 1561 ได้ขอร้อง คาเงะโทระ ชิงแคว้นโคสุเกะคืน ให้แก่อุเอะสึงิ โนริมาสะ ได้สำเร็จ จึงได้ตำแหน่งคันโตคังเร เป็นการตอบแทน พร้อมทั้งรับ คาเงะโทระเป็นบุตรบุญธรรมและเปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็น อุเอะสุงิ มาสะโทระ ต่อมาได้ออกบวช มีชื่อว่า เค็งชิง จึงเป็นที่มาของชื่อที่ผู้คนรู้จักทั่วไป ในนาม อุเอะสุงิ เค็งชิง ในปี 1574 -1577 โนบุนางะ ยุยงสร้างความแตกแยก ในแค้นใกล้เคียงกับที่เค็งชิงดูแล เขาจึงตัดสินใจปราบปรามและบุกเข้ายึดแคว้นคางะ และเอะจิเซ็ง อุเอะสุงิ เค็งชิง เป็นชายผู้มีร่างสูงใหญ่ สมกับความเป็นนักรบ ได้รับฉายาว่า "มังกรแห่งเอะจิโงะ" และตั้งตนเป็นเทพเจ้าบิชะมงเท็ง หรือเทพแห่งสงครามในพุทธศาสนามหายาน ด้วยการใช้ชีวิตที่เคร่งครัดในหลักคำสอน เป็นไดเมียวผู้ซึ่ง และไม่เคยสมรสกับสตรีใด
เขาจึงไม่มีบุตรชายไว้สืบทอดแคว้นของตน อย่างไรก็ตาม อุเอะซุงิ เค็งชิงได้รับบุตรชายบุญธรรมเอาไว้สองคน ได้แก่ คาเงะคัตสึ และ คาเงะโทระ

 

04 Tokugawa Ieyasu ................... หากต้องการชม พัดตราประจำตระกูล Tokugawa Ieyasu คลิ๊กเลย

徳川家康 , 31 มกราคม พ.ศ. 2086 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2159) โทะกุงาวะ อิเอะยาสุ เดิมชื่อมัตสึไดระ โมโตยาสุ เป็นบุตรของ มัตสึไดระ ฮิโระทาดะ ไดเมียวแห่งมิคาวะ ช่วงที่ อิเอะยาสุ ยังเด็ก มิคาวะเป็นเป้าหมายที่ ตระกูลโอดะต้องการยึด แต่มีตระกูลอิมางาวะ ที่ทางไดเมียวฮิโระทาดะ สร้างสัมพันธ์ไว้ คอยดุลอำนาจอยู่ จึงมีเงื่อนไขให้ส่งทาเคะชิโยะ หรือโมโตยาสุ ซึ่งก็คืออิเอะยาสุ ให้เป็นตัวประกันที่ อิมางาวะ การที่ไปอยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายอิมากาว่านั้น กลับมีผลดีในเรื่องความสามารถในการศึกของอิเอะยาสุ เพราะทำให้เขาได้ฝึกฝน การขี่ม้า ยิงธนูจนเก่งกาจ กระทั่งได้รับฉายาในภายหลังว่าจอมขมังธนูแห่งมิคาวะ โมโตยาสุน้อย อยู่ในฐานะตัวประกันของฝ่ายอิมากาว่าจนอายุ 15 ปี จึงถูกส่งกลับ และเป็นนายน้อยคนใหม่แห่งมิคาวะ จนในปี 1560 ยุทธการ โอเคะฮาสะมะ โอดะ โนบุนางะ สามารถเอาชนะ อิมางาวะ โยชิโมโตะ ,โมโตยาสุจึงเป็นส่วนหนึ่ง ของกองทัพโนบุนางะ และเป็นจุดเริ่มต้น ของเส้นทางยิ่งใหญ่ต่อมา ในปี 1567 โมโตยาสุได้เปลี่ยนชื่อตระกูลมัตสึไดระ เป็น"โทกุงาวะ" และเปลี่ยนชื่อตัว จากโมโตยาสุเป็น "อิเอยาสุ" อิเอะยาสุ ให้การสนับสนุน โนบุนางะ มาโดยตลอดจน โนบุนางะ เสียชีวิตในงานเลี้ยง อำนาจเปลี่ยนไปอยู่ที่ ฮิเดะโยชิ แรกๆก็พยายาม เข้ากับบุตรของ โนบุนางะ แต่เมื่อรบไปนานๆ ก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ต่อฮิเดะโยชิ จึงต้องยอมจำนนในที่สุด ในปี 1590 ความฝันในการรวมประเทศญี่ปุ่นของฮิเดะโยชิ ก็สำเร็จ ในปี 1598 ฮิเดะโยชิ ถึงแก่กรรม อิเอะยาสุ เป็นไดเมียวที่มีศักดินาและกำลังทหารสูงสุด ความขัดแย้งกันภายใน นำไปสู่ สงครามเซกิงะฮาระ แบ่งญี่ปุ่นเป็นสองฝ่าย ตะวันตกนำโดยโดยฮิเดะโยริ บุตรของฮิเดะโยชิ มีอิชิดะ มิตสึนาริสนับสนุน กับฝ่ายตะวันออก นำโดย โทกุงาวะ อิเอะยาสุ หลังจากได้รับชัยชนะในสงครามที่เซะกิงะฮะระ อิเอะยาสุ แต่งตั้งตนเองเป็นโชกุนคนแรกแห่งตระกูลโทกุงาวะ ซึ่งตระกูลนี้ปกครองญี่ปุ่นจนถึงค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411) ก่อนจะหมดอำนาจลงและพระราชอำนาจก็กลับมาอยู่ที่องค์พระจักรพรรดิอีกครั้ง

 

05 Takeda Shingen ................... หากต้องการชม พัดตราประจำตระกูล Takeda Shiken คลิ๊กเลย

武田 信玄 1 ธันวาคม ค.ศ. 1521 - 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1573 ทาเคะดะ ชิงเง็ง ตราประจำตระกูลรูป เพชรรูปข้าวหลามตัด 4ชิ้น ตระกูล ทาเคะดะ เป็นตระกูลที่่มีอำนาจ ในแถบภูมิภาคคันโตะ อันที่ลุ่มใหญ่สุดของญี่ปุ่น ปัจจุบันก็คือโตเกียวและโดยรอบนั่นเอง บุคคลสำคัญของตระกูล ทาเคะดะ ก็คือ ทาเคะดะ ชิงเง็ง ในค.ศ. 1572 โชกุนอะชิกะงะ โยะชิอะกิ (ญี่ปุ่น: 足利義昭 Ashikaga Yoshiaki ?) ได้ร้องขอให้ทาเคะดะ ชิงเง็ง ต้านทานการขยายอำนาจของโอดะ โนะบุนะงะ ชิงเง็นจึงนำทัพเข้ารุกรานแคว้นโทโตมิ (ญี่ปุ่น: 遠江 Tōtōmi) จังหวัดชิซุโอะกะ อันเป็นดินแดนของตระกูลโทะกุงะวะ นำโดยโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ขุนพลคนสำคัญของโอดะ โนะบุนะงะ ชิงเง็งสามารถเอาชนะอิเอะยะซุได้ ในยุทธการมิกะตะงะฮะระ เป็นไดเมียวที่กล้าหาญและยิ่งใหญ่ จนได้รับฉายาว่า 甲斐の虎 พยัคฆ์แห่ง คะอิ(ชื่อเมือง) กองทัพของทาเคะดะ ชิงเง็ง ถือธงเป็นคำว่า 風林火山 แปลว่า ลม-ป่า-ไฟ-ภูเขา อันมาจากข้อความในตำราพิชัยสงครามของซุนวูอันเป็นลักษณะของกองทัพที่ดีว่า "รวดเร็วดั่งลม เงียบสงัดดั่งป่าไม้ น่าเกรงขามดั่งไฟ มั่นคงดั่งขุนเขา"

 



06 Sanada Yukimura ................... หากต้องการชม พัดตราประจำตระกูล Sanada Yukimura คลิ๊กเลย

真田 幸村?, 1567 – June 3, 1615 เป็นบุตรของซานะดะ มาซายุกิ ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดนักวางแผนการสงคราม ซึ่งกองทัพซะนะดะก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่โตนัก แต่กลับสามารถเอาชนะ กองทัพขนาดใหญ่ได้ในการศึกมากมายหลายครั้ง ในปีค.ศ. 1582 โนบุนางะร่วมมือกับ โทกุงาวะ รุกรานตระกูลซานะดะ ทำให้ต้องอยู่ภายใต้อำนาจ ของโนบุนางะ จนสิ้นยุคของโนบุนางะ ฮิเดะโยชิครองอำนาจต่อ ยูคิมุระจึงได้เริ่มมีอำนาจ จนในปี 1600 ฮิเดะโยชิ ถึงแก่กรรม เกิดสงครามเซกิงาฮาระขึ้น ยูคิมุระ ตัดสินใจ เข้ากับฝ่ายตะวันตกของอิชิดะ มิตสึนาริ เขาจึงต้องเป็น ฝ่ายตรงข้ามของโทกุงาวะ เมื่อฝ่ายตะวันตกเป็นฝ่ายแพ้ อิเอะยะสุยึดปราสาทโอซาก้า ขับไล่ตระกูลซะนะดะไปยังจังหวัดคะอิ และกักบริเวณ ผ่านไป10กว่าปี เกิดความแยกแยกในฝ่ายตะวันออก ยูคิมุระ แอบหลบหนีออกมาจากที่กักกันได้ และรวบรวมคนบุกยึดปราสาทโอซาก้าได้สำเร็จ ในปีต่อมา อิเอะยาสุ กลับมาชิงปราสาทโอซาก้าคืน แม้ยูคิมูระจะเป็นเจ้าของพื้นที่ แต่กลับไม่ตั้งรับ เลือกวิธีบุกทะลวงเข้าหาทัพใหญ่ ที่อิเอะยะสุบัญชาการ แม้ยูคิมูระทำการไม่สำเร็จ แต่อิเอะยะสุ ก็เกรงกลัวต่อความเก่งกาจของยูคิมูระ ซานะดะ ยูคิมูระได้รับฉายาว่า ปีศาจสีเลือด และถือเป็นยอดนักรบอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นศัตรูหลายๆคน เกรงกลัวตระกูลนี้มาก
ส่วนหนึ่งมาจากการที่นักรบและบริวาร ถูกดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ทำให้นักรบของตระกูลนี้มีวินัยและ สู้อย่างถวายชีวิต

 

07 Imagawa Yoshimoto

今川義元, 1519 - 12 มิถุนายน 1560 อิมะงาวะ โยชิโมโตะ เดิมชื่อ ไบงากุ หรือเซ็งงากุ โชโฮ เป็นบุตรของ อิมะงาวะ อุยิจิกะ แห่งตระกูลอิมะงาวะ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากจักรพรรดิ เซวะเป็นไดเมียวหรือขุนพล ที่ทำหน้าที่เจ้าเมือง ปกครองแคว้นซุรุงะ ปัจจุบัน คือเมืองชิสุโอะกะ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ ภาคกลางของประเทศญี่ปุ่น หรืออยู่ระหว่าง โอซาก้า กับ โตเกียว เป็นเจ้าของปราสาท ซุมปุ(Sunpu Castle) สร้างขึ้นในปี 1586 เป็นที่อยู่สมัยเด็กและช่วงบั้นปลายชีวิต ของ โตกุงาวะ อิเอะยะสุ ผู้สถาปนานครหลวงเอะโดะ หรือนครหลวง โตเกียวปัจจุบัน ในวัยเด็กของ ไบงากุ หลังจากที่พ่อของเขาเสียชีวิตในปี 1536 เกิดการชิงความเป็นผู้นำตระกูล จนท้ายที่สุด สิทธิชอบธรรมตกเป็นของ ไบงากุ เขาขึ้นเป็นผู้นำ ตระกูลและเปลี่ยนชื่อเป็น โยชิโมโตะ หลังจากรับตำแหน่งไม่นาน เขาก็แต่งงานกับน้องสาวของทาเคะดะ ชิงเง็ง การสร้างฐานอำนาจมีต่อไป ในปี 1552บุตรชายของชิงเง็ง แต่งงานกับบุตรสาวของโยชิโมโตะ ปี 1558 บุตรชายของโยชิโมโตะแต่งงาน กับบุตรสาวของโฮโจ อุจิ๊ทสึนะ นี่คือพันธมิตรแบบไตรภาคี ระหว่างตระกูล อิมางาวะ ทาเคะดะ และโฮโจ ในปี 1560 ด้วยกำลังร่วมถึง 40000นาย ของอิมางาวะ ก็บุกเข้าเมืองหลวงเกียวโต ยึดเมืองเล็กเมืองน้อยระหว่างทาง


08 Oda Nobunaga ................... หากต้องการชม พัดตราประจำตระกูล Oda Nobunaga คลิ๊กเลย

織田 信長23 มิถุนายน ค.ศ. 1534 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1582 โอดะ โนบุนางะ เดิมชื่อว่า คิปโปชิ เป็นบุตรคนรองของโอดะ โนบุฮิเดะ ผู้เป็นไดเมียวแห่งโอวาริ เมื่ออายุ 13ปี ผ่านพิธีเก็มปุกุ เปลี่ยนชื่อเป็น โนบุนางะ ในฐานะที่เป็นบุตรคนโตสุดที่เกิดกับภรรยาเอก ทำให้คิปโปชิเป็นอันดับหนึ่งในการสืบทอดแคว้นโอวาริ ปี 1560 ยุทธการโอเคะฮะสะมะ โยชิโมโตะยกทัพร่วมพันธมิตร 40000 นาย หมายเข้าสู้นครเกียวโต ระหว่างทางต้องผ่านโอวาริ โนบุนางะมีกำลังเพียง 2500 นาย แต่ด้วยความหลักแหลมรู้นิสัยส่วนตัว ของโยชิโมโตะ ว่าชอบความรื่นเริง ระหว่างพักรบ จึงใช้กำลังทหารที่น้อยกว่าบุกเข้าโจมตี แบบไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามตั้งตัว ปฏิบัติการครั้งนี้สำเร็จ โยชิโมโตะเสียชีวิต โนบุนางะเป็นที่รู้จักทั่วญี่ปุ่น ในปี 1561 พ่อตาของโนบุนางะ เสียชีวิตลง ทายาทก็ยังอายุน้อย โนบุนางะถือโอกาสบุกเข้ายึดแคว้นมิโนะ เป้าหมายต่อไปคือรวมญี่ปุ่น เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้หลักการปกครอง เทงคะฟุบุ หมายถึง การปกครองประเทศโดยทหาร ปี 1570 โนบุนางะ นำทัพเข้าบุกแคว้นเอะจิเซงและเอาชนะตระกูลอะซะกุระได้ในยุทธการคะเนะงะซะกิ
ปี 1571 ยกทัพเข้าโจมตีเมืองนางะชิมะ จังหวัดมิเอะในปัจจุบัน อันเป็นฐานที่มั่นอีกแห่งหนึ่งของกบฎอิกโกอิกกิ และ เข้ายึดฐานที่มั่นที่วัดเองยะกุ บนเขาฮิเอะอิ ทำการกวาดล้าง พระนักรบไปจนหมดสิ้น ปี 1573 ยึดปราสาทฮิกิดะ ของโยะชิกะเงะ และยึดปราสาทโอะดะนิ ของนางามาสะ และ ปลดโชกุนอะชิกะงะ โยะชิอะกิ ออกจากตำแหน่ง ล้มเลิกระบอบ การปกครองของโชกุน เป็นการสิ้นสุดรัฐบาลโชกุนมุโระมะชิที่มีมายาวนานถึงสองร้อยกว่าปี ปี 1574 ยึดเมืองนางาชิมะ ปี 1576 ปิดล้อมเขาอิชิยะมะจนสามารถเข้ายึดวัดฮงงังบน เขาอิชิยะมะได้ ปิดฉากกบฏอิกโก-อิกกิ หลังจากที่โนะบุนะงะวางรากฐานอำนาจในเมืองเกียวโตภูมิภาคคันไซได้อย่างมั่นคงแล้ว จึงหันความสนใจไปทางตะวันออก ในขณะนั้นภาคตะวันออกของญี่ปุ่นมีไดเมียวผู้ทรงอำนาจสองคนกำลังแย่งชิงความเป็นใหญ่ สู้รบกันระยะหนึ่ง โชคเข้าข้าง โนบุนางะ เมื่อไดเมียวทั้งสอง ต่างทะยอยเสียชีวิต ในปี 1578 ทำให้ไดเมียวผู้มีอำนาจเพียงพอที่จะต้านทานการรุกรานของโนะบุนะงะหมดสิ้นไป นะบุนะงะจึงสามารถเข้าครอบครอง ญี่ปุ่นภาคตะวันออกได้ในที่สุด

 

09 Maeda Toshiie

前田 利家?, January 15, 1538 – April 27, 1599 มาเอะดะ โทชีเอะ เป็นบุตรคนที่ 4 ของ Maeda Toshimasa และเป็นอาของ Maeda Keijiro เริ่มเข้ามาทำงานให้ โนบุนางะ ในปี 1551 ช่วงที่ทำงานให้โนบุนางะ มีความดีความชอบโดยการชนะสงครามหลายๆครั้ง จนได้รับศักดินา เป็นที่ดินจำนวนมาก จนเมื่อโนบุนางะถึงแก่กรรม จึงได้มาทำงานให้กับ ฮิเดะโยชิต่อ
และได้ร่วมในสงครามที่ฮิเดะโยชิประสงค์จะยึดจีนและเกาหลี จนได้รับศักดินาเพิ่มขึ้น ในปี 1595 ฮิเดะโยชิ ได้แต่งตั้งให้ โทชิเอะเป็น 1ใน 5 ผู้อาวุโส มีตำแหน่งเป็นถึงผู้สำเร็จ ราชการแทนลูกชายผู้สืบทอดซึ่งยังอายุน้อย อย่างไรก็ตามหลังฮิเดะโยชิถึงแก่กรรม ความขัดแย้งในกลุ่มผู้อาวุโสก็เกิดขึ้น จนนำไปสู้สงความเซกิงะฮาระ ในที่สุด

 

10 Toyotomi Hideyoshi ................... หากต้องการชม พัดตราประจำตระกูล Toyotomi Hideyoshi คลิ๊กเลย

豊臣 秀吉 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1537 – 18 กันยายน ค.ศ. 1598 ในฐานะผู้ที่สามารถแก้แค้นให้แก่โอะดะ โนะบุนะงะได้สำเร็จ ทำให้ฮิเดะโยะชิได้รับการยกย่องและขึ้นมา มีอำนาจในตระกูลโอะดะ ใน ค.ศ. 1583 ฮิเดะโยะชิได้สร้างปราสาทโอซะกะ (大坂城) ใน ค.ศ. 1586 ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "คัมปะกุ" หรือผู้สำเร็จราชการ แทนพระจักรพรรดิ รวมทั้งได้รับพระราชทานนามสกุลใหม่จากพระจักรพรรดิว่า โทะโยะโตะมิ ใน ค.ศ. 1590 คัมปะกุฮิเดะโยะชิได้ส่งทัพไปทางตะวันออก นำโดยอิเอะยะสุ เข้าปราบปรามตระกูลโฮโจ ชัยชนะเหนือตระกูลโฮโจทำให้ตระกูลโทะโยะโตะมิปราศจากผู้ท้าทายอำนาจอีกต่อไป เมื่อดะเตะ มะซะมุเนะ ไดเมียวแห่งภูมิภาค โทโฮะกุ ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของเกาะฮอนชูเข้าสวามิภักดิ์ต่อฮิเดะโยะชิ จึงเท่ากับว่าการรวบรวมอาณาจักรญี่ปุ่นให้เป็นหนึ่งเดียว เมื่อรวบรวมญี่ปุ่นได้แล้ว ไทโคฮิเดะโยะช ิก็มีความทะเยอทะยานอยากที่จะพิชิตจีนราชวงศ์หมิง จึงได้ส่งทูตไปยังราชสำนักเกาหลีราชวงศ์โชซอนเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ ไทโคฮิเดะโยะชิ จึงตัดสินใจที่จะเข้ารุกรานเกาหลีเพื่อเป็นทางผ่านในการเข้ารุกรานจีนต่อไป นับเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น มีกำเนิดจากชนชั้นชาวนา
แต่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นซะมุไรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง บรรลุภารกิจการรวบรวมประเทศญี่ปุ่นที่แตกออกเป็นแคว้นต่างๆ ในยุคเซงโงะกุได้สำเร็จ สืบสานเจตนารมณ์ของโอะดะ โนะบุนะงะ

 

11 Mori Motonari

毛利元就?, April 16, 1497 – July 6, 1571 Mori Motonari เกิดที่ปราสาท ซุสะโอะ ในจังหวัดอะกิ เป็นบุตรของไดเมียวโมริ ฮิโระโมโตะ ผู้มีอำนาจมากในภูมิภาคจุโงกุ คือทางแถบตะวันตกของญี่ปุ่น ด้วยความที่เป็นบุตรชายที่เกิดจากภรรยาน้อยช่วงวัยเยาว์ จึงไม่ค่อยมีบทบาท จนเมื่อพ่อและพี่ชาย เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง เขาจึงต้องทำหน้าที่สืบต่ออำนาจในตระกูล ในปี 1518 นี่เอง โมโตนาริ ได้ทำสงครามครั้งแรก และทำให้เขาเริ่มมีชื่อเสียงจากการตัดหัวศัตรูใส่ถังไว้ ทั้งที่ฝ่ายตรงข้าม มีกำลังมากว่าถึง 4เท่า ถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้ตระกูลโมริให้กลับมาอีกครั้ง ในปี 1534 โมโตนาริ ได้ส่งเครื่องบรรณาการถวายองค์จักรพรรดิ ทำให้ได้รับพระราชทานตำแหน่ง
ในปี 1540 ตระกูลโมริ ต้องเผชิญหน้ากับการโจมตีจากตระกูลอะมะโงะ ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ด้วยข้าศึก 30000นาย ทางฝ่ายตระกูลโมริ มีทหารเพียง 3000นาย ได้ตระกูลฟุคุฮาระและตระกูลชิชิโด มาช่วยเสริม รวมเป็น 8000 นาย ซึ่งก็ยังถือว่าน้อยกว่ามาก ผลก็คือ ทางฝ่ายโมริ เป็นฝ่ายชนะ ถือเป็นศึกอีกครั้ง ที่ทำให้ชื่อเสียงของโมโตนาริโด่งดังไปทั่ว ต่อจากนั้น โมโตนาริ ได้ขอความร่วมมือไปยังตระกูลโอะอุจิ เพื่อโจมตีตระกูลทะเคะดะ ผลก็คือ โมโตนาริ ประสบชัยชนะ
แถมยังยึดกองทัพเรือของตระกูลทะเคะดะไว้ได้ จึงเป็นการเริ่มต้นความยิ่งใหญ่ซึ่งมีผลต่อกองทัพเรือ ของตระกูลโมริ อย่างมาก ในเวลาต่อมา

 

13 Kuroda Kanbei

黒田 孝高?, December 22, 1546 – April 19, 1604 ชื่อเดิม Kuroda Yoshitaka เกิด ที่ปราสาทฮิเมะจิ จังหวัดเฮียวโงะในปัจจุบันเป็นบุตรชายของ Kuroda Mototaka ซามุไรผู้ปกครอง ปราสาทฮิเมะจิซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ Kodera Masamoto ไดเมียวแห่งแคว้นฮะริมะ ซึ่งอยู่ในภูมิภาคจุโงะกุ ในปี 1567 โยชิทากะ ได้รับมอบตำแหน่งจากบิดา ให้ดำรง ตำแหน่งเป็นทั้งผู้ปกครองปราสาทฮิเมะจิและที่ปรึกษาคนสำคัญของเจ้าครองแคว้นฮะริมะ ขณะนั้น โนบุนางะ ต้องการขยายอำนาจสู่ภูมิภาคนี้อยู่แล้วจึงส่ง ฮิเดะโยชิ นำทัพมา ฝ่ายโคะเดระ ไดเมียวแห่งแคว้นฮะริมะ ก็ได้หาทางต่อสู้ร่วมกันไดเมียวอื่นๆในภูมิภาคนี้ แต่สำหรับคัมเบ กลับมีความเห็นต่าง ว่าควรเข้าร่วมกับทางโนบุนางะ จึงหาทางติดต่อ ผ่านฮิเดะโยชิ เพื่อขอเข้าพบโนบุนางะที่เกียวโต แต่โนบุนางะไม่วางใจจึงสั่งให้จับนางะมาสะ ผู้เป็น บุตรชายของโยชิทากะ ไว้เป็นตัวประกัน ต้องมีการเจรจากัน เป็นการใหญ ่เพื่อให้มีการปล่อยตัว โยชิทากะ มีความมุ่งมั่นยืนกรานที่จะเข้าร่วมกับ โนบุนางะ จนในปี 1578 มีการก่อกบฎในภูมิภาค จุโงะกุ โยชิทากะถูกจับขัง และได้รับบาดเจ็บ จนขาพิการระหว่างหลบหนีออกมา หลังจากนั้นไม่นานโนบุนางะถึงแก่กรรม อำนาจจึงตกสู้ฮิเดะโยชิ แม้ขาของโยชิทากะจะขาพิการ ไม่สามารถสู้รบด้วยตนเอง แต่ฮิเดะโยชิ ผู้รู้ซึ้งถึงความภักดี ในสงความพิชิตภูมิภาคชิโงะกุ ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น ปัจจุบันคือ เกาะคิวชู โยชิทากะก็ร่วมรบในฐานะเสนาธิการ ในช่วงสงครามที่ญี่ปุ่นบุกเกาหลี โยชิทากะ ก็เป็นที่ปรึกษาคนสนิทของฮิเดะโยชิ โยชิทากะ เข้าพิธีศีลจุ่ม จึงเป็นซามูไรที่นับถือศาสนาคริสต์คนหนึ่ง และจำเป็นต้องปิดบังความเชื่อของตนเอง จนถึงเหตุการณ์ที่ ฮิเดะโยชิ ได้ถึงแก่อสัญกรรมไปในค.ศ. 1600 ในศึกเซกิงะฮาระ โยชิทากะไม่พอใจ อิชิดะ มิทสึนาริ จึงไปให้การสนับสนุน โทกุงาวะ อิเอยาสุ ผู้นำทางด้านตะวันออก คุโรดะ คัมเบ ถือเป็นผู้ทีมีความอัจฉริยะ มองการณ์ไกล รู้ว่าผู้ใดจะเป็นใหญ่ครองอำนาจในอนาคต จึงเลือกเข้าได้ถูกฝ่าย มาโดยตลอด

 

15 Maeda Keijiro

前田 利益 1543 - 1612 เดิมชื่อ มาเอะดะ โทชิมาสุ เป็นบุตรของทากิงาวะ คาสุมาสุ ที่หมู่บ้านอะราโกะ เมืองนาโงยะ เคจิได้เข้าร่วมสนามรบตังแต่วัยรุ่น ในฐานะนักรบของ ตระกูลมาเอดะ ซึงเป็นตระกูลบริวารของโอดะ โนบุนางะ และสังสมประสบการณ์สู้รบไว้ไม่น้อย แม้ผลงานการทำศึกในยุคแรกของเขาจะไม่ชัดเจนนัก แต่ชือของเคจิค่อนข้าง จะโด่งดังและเป็นทีรู้จักในฐานะนักรบที่มีฝีมือเก่งกล้าเป็นอันดับต้นๆของยุคนั้น เคจินัน เป็นคนรักอิสระ แม้เขาจะได้ชือว่าเป็นซามูไร แต่กลับไม่ยอมอยู่ใต้สังกัดตระกูลตนเอง และมักใช้ชีวิตเรือยเปือย เดินทาง เร่ร่อนไปทัว เขามักพาตัวเองเข้าร่วมรบในหลายๆสมรภูมิตามใจตน เพียงแต่เขาก็ยังร่วมอยู่กับฝ่ายของโนบุนางะหรือตระกูลมาเอดะ
เท่านั้น เคจิเริ่มมีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์สงครามอย่างจริงจังในช่วงปีค.ศ. 1586 ขณะนันแผ่นดินได้พลิกขัวอำนาจอย่างใหญ่หลวง เนืองจากฮิเดโยชิได้ก้าวขึนมา เป็นผู้มีกองทัพแข็งแกร่งทีสุดในแผ่นดิน และได้เริมปราบปรามเหล่าอดีตขุนศึกทีเคยอยู่ใต้โนบุนางะด้วยกันมา หลายคนยอมสวามิภักดิ แต่หลายคนก็ต่อต้านอย่างรุนแรง หนึง ในผู้ทีต่อต้านฮิเดโยชิอย่างหนักขณะนันคือ ซัตสะ นาริมาสะ อดีตขุนพล ของโนบุนางะทีได้ชือว่าเป็นจอมโหด เคจิเข้าร่วมศึกปราบปรามนาริมาสะ ในฐานะกองหน้าของ ตระกูลมาเอดะ และสร้างผลงานไว้ไม่ น้อยในศึกนี จากนันไม่นาน เคจิได้คบหาและมีความสนิทสนมกับนาโอเอะ คาเน็ทสึงุ เสนาธิการของ อุเอสึงิ คาเคคัตสึ ไดเมียว
ผู้สืบทอดของอุเอสึงิ เค็งชิงแห่งแคว้นไอสึ ซึ่งการได้คบหากับคาเน็ทสึงุ ยังส่งผลต่อชะตาของเคจิในภายหลังอย่างมาก

 

18 Kato Kiyomasa

加藤 清正 25 กรกฎาคม 1562 – 2 สิงหาคม 1611 คาโตะ คิโยมาสะ เป็นหนึ่งในแม่ทัพในการรุกรานอาณาจักรโชซอนของญี่ปุ่น ด้วยความเกรงกลัวต่อคิโยมาสะและกองทัพญี่ปุ่น
ทำให้ พระเจ้าซอนโจ แห่งโชซอนต้องละทิ้งกรุงฮันซอง และลี้ภัยไปยังเปียงยาง คิโยมาสะได้จับกุมเจ้าชายแห่งโชซอนสองพระองค์ไว้เป็นตัวประกัน และบังคับให้โชซอนยอมแพ้
คิโยมาสะยังเป็นสถาปนิกที่มีฝีมือในการออกแบบสร้างปราสาทและป้อมปราการ ระหว่างสมรภูมิแม่น้ำอิมจิน เขาสร้างปราสาทแบบญี่ปุ่น หลายแห่งในอาณาจักรโชซอน เพื่อเป็นฐานบัญชาการและปกครอง ด้วยผลงานในสมรภูมิชิซูคะตะเกะของเขาเป็นที่ประจักษ์ เขาจึงกลายเป็นที่รู้จักในนามของ 1 ใน 7 ทหารเอกแห่งชิซูคะตะเกะ
และได้รับศักดินา 3,000 ปี ค.ศ. 1576 ภายหลัง โทโยโตะมิ ฮิเดะโยชิ ได้ขึ้นเป็นคัมปะกุ เมื่อดินแดนฮิโงะ ได้ถูกยึดมาจากซัสสะ นาริมะสะ คิโยมาสะ ได้รับศักดินาในฮิโงะ 250,000 โคะขุ และปราสาทคุมะโมะโตะ กลายเป็นเจ้าแคว้นคุมะโมะโตะ ระหว่างยุทธการเซะกิงะฮาระ คิโยะมะซะยังคงอยู่ในเกาะคีวชู โดยอยู่ฝ่ายกองทัพภาคตะวันออกของโทกุงาวะ อิเอะยาสุ ด้วยความภัคดีของเขา คิโยมาสะได้รับศักดินาในพื้นที่เดิมของคู่แข่งของเขา มิทสึนาริ เมื่อรวมกับศักดินาเดิมที่มีอยู่แล้ว ทำให้คิโยมาสะมีศักดินาถึง 530,000 โคะกุ แบบนี้ก็ต้องเรียกว่าเข้าถูกฝ่าย

 

19 Yamamoto Kansuke

山本 勘助 1501 – 1561 เดิม ยามาโมโต้ คันสุเกะ มีชื่อว่า ฮะรุยูกิ เขาประวัติไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่าเกิดในจังหวัดมิคาวะ เมืองไอจิ ซึ่งเป็นที่เกิดของซามูไรผู้ยิ่งใหญ ่หลายๆคน เมืองที่เขาเกิดอยู่ภานใต้อำนาจการปกครองของตระกูล อิมางะวะ คันสุเกะเริ่มเข้ามาเป็นทหารในกองทัพของ ทะเคะดะ ชิงเก็น และ ในปี 1543 เขาก็ได้รับตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารราบ ด้วยวิถีชิวิตและความเชี่ยวชาญกลยุทธ์การต่อสู้ ของคันสุเกะ เขาจึงเป็นส่วนหนึ่งของ พงศาวดาร โคะโยะกุนคัง (甲陽軍鑑) ซึ่งมีเนื้อหารวบรวมข้อมูล จำนวน สถิติ ของสงคราม และ เรื่องราวการใช้ชีวิตของนักรบในสังกัดของตระกูล ทะเคะดะ คำว่า บูชิโด ซึ่งหมายถึง วิถีนักรบ ก็ถูกใช้ครั้งแรกที่นี่ หมายเหตุ : พงศาวดาร คือ การบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริง

 

20 Ishida Mitsunari

石田 三成 Ishida Mitsunari, ค.ศ. 1559 - 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 อิชิดะ มิทสึนาริ เป็นหนึ่งในไดเมียวคนสำคัญ ในยุคต่อจาก โทโยะโทมิ ฮิเดะโยชิ จากการรวมแผ่นดินญี่ปุ่น
โดยหลังจาก ฮิเดะโยชิ ถึงแก่กรรม ผู้ที่รับสืบทอดอำนาจแบ่งเป็นหลายฝ่าย จนเป็นที่มาของสงครามเซกิงะฮาระ เขาผู้นี้เอง เป็นผู้นำกองทัพตะวันตกใน ยุทธการเซะกิงะฮาระ
อิชิดะ มิทสึนาริมีความสามารถทางด้านการบริหารและการคลัง ผิดกับซามุไรร่วมสมัยโดยทั่วไปซึ่งเน้นการทหารเป็นหลัก ในช่วงการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135–2141) ไทโคฮิเดะโยะชิได้แต่งตั้งให้มิทสึนาริเป็นผู้ตรวจการตรวจสอบการทำงาน ของบรรดาขุนศึกที่ยกทัพไปรุกรานอาณาจักรโชซอน มิทสึนาริรายงานกลับมายังไทโคว่า การรุกรานนั้นไม่มีประสิทธิภาพ สร้างความไม่พอใจแก่บรรดาขุนศึกระดับสูงที่นำการรุกรานเกาหลีเป็นอย่างมาก ก่อนที่ไทโคฮิเดะโยะชิจะถึงแก่กรรมลงใน 1598 ได้ทำการแต่งตั้งให้อิชิดะ มิทสึนาริ เป็นหนึ่งในคณะโงะบุเกียว


24 Honda Tadakatsu

本多 忠勝 17 มีนาคม 1548 – 3 ธันวาคม 1610 ฮ่งดะ ทาดาคัตสึ เป็นแม่ทัพญี่ปุ่น ในยุคอะซุชิ-โมะโมะยะมะ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่ทำให้โทะกุงะวะ อิเอะยาสุ
สามารถจัดตั้งรัฐบาลโชกุนโทกุงาวะได้ และยังเป็นเจ้าแคว้นโอตะกิ และเจ้าแคว้นคุวะนะ คนแรก ทาดาคัตสึทำงานรับใช้อิเอะยาสุตลอดชีวิตของเขา เดยรบในสงครามที่สร้างชื่อ ให้แก่เขา คือ ยุทธการอะเนะงะวะ ในปี 1572 ร่วมยุทธการมิกะตะงะฮะระ ในปี .1593-1594 เข้าร่วมในการรุกรานอาณาจักรโชซอน ของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ
สงครามครั้งสุดท้ายในชีวิตของทาดาคัตสึ ในปี 1600 คือ ยุทธการเซะกิงะฮาระระหว่างกองทัพฝ่ายตะวันออก ที่นำโดยโทะกุงาวะ อิเอะยาสุกับกองทัพฝ่ายตะวันตกที่นำโดยอิชิดะ มิตสึนะริ ด้วยผลงานมากมาย จึงได้รับศักดินาในโอตากิ 100,000 โคะกุ กลายเป็น เจ้าแคว้นโอตะกิ และต่อมา ได้รับศักดินาในคุวะนะ 150,000 โคะขุ กลายเป็น เจ้าแคว้นคุวะนะ ในปี ค.ศ.1600 ทาดาคัตสึมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ หมวกเหล็กที่ถูกประดับด้วยเขากวาง ตำนานกล่าวไว้ว่าฮ่งดะ ทาดาคัตสึเป็นขุนพลที่ผ่านสงครามและสมรภูมิรบมามากมาย แต่กลับไม่มีรอยแผลแม้แต่รอยเดียว นอกจากนี้ ยังมีคนกล่าวว่าทุกครั้งที่ทาดาคัตสึทำสงคราม ก็ไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่คร้งเดียว จนได้รับฉายาว่า เทพนักรบแห่งดินแดนอาทิตย์อุทัย

 

25 Kuroda Nagamasa

黒田 長政 1568 – 1623 เป็นบุตรของ คุโรดะ กัมเบ เป็นที่ปรึกษา ของโทโยโทมิ ฮิเดะโยชิ ในปี 1577คุโรดะ กัมเบ ผู้เป็นพ่อ ถูกโอดะ โนบุนางะ สงสัยว่าเป็นสายลับ เด็กชายนางามาสะ จึงถูกลักพาตัวไปและเกือบถูกฆ่า แต่สุดท้ายได้รับความช่วยเหลือจาก ทาเกะนากะ ฮัมเบ ในปี 1582 โนบุนางะ ถูกฆ่า นางามาสะ จึงถูกฮิเดะโยชิดูแลต่อ และได้ช่วยปราบผู้บุกรุก ในภูมิภาคจูโงกุ เและได้ร่วมศึกอีกหลายครั้ง ในปี 1592 บุกเกาหลี ครั้งแรก ในปี 1597 บุกเกาหลี ครั้งที่สอง จนถึงเหตุการณ์ที่ ฮิเดะโยชิ ได้ถึงแก่กรรมไปใน 1600 ในศึกเซกิงะฮาระ โยชิทากะพ่อของนางามาสะ ไม่พอใจ อิชิดะ มิทสึนาริ จึงไปให้การสนับสนุน โทกุงาวะ อิเอะยาสุ ผู้นำทางด้านตะวันออก และในศึกนี้ เขาได้สังหาร ชิมะ ซะคง ผู้คุมกองกำลังยอดฝีมือของทัพตะวันตก ได้สำเร็จ นำมาสู่ชัยชนะของฝ่ายตะวันออก คือ โทกุงาวะ อิเอะยาสุ ในที่สุด

 

ภาพถ่ายหมู่ชุดจำลองเกราะซามูไร สามารถคลิ๊กที่ภาพของสินค้าที่ต้องการชมมุมมองต่างๆ...เพื่อขยายใหญ่ขึ้นfigure
#

#โมเดล #หุ่น #นักรบ #sengoku #shogun #ชุดเกราะ #armor #katana #ญี่ปุ่น #ซามูไร #คาตานะ #warrior #nihon #edo
#bushi #ซามูไร #yoroi #kabuto #Traditional #crafts